Responsive Web Design คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำเว็บ

Responsive Web Design คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำเว็บ

ทุกวันนี้ผู้คนต่างใช้เวลาอยู่กับโลกโซเซียลกันซะส่วนใหญ่ ด้วยความที่โลกนี้เป็นแหล่งข้อมูลขนาดมหึมา ไม่ว่าคุณจะอยากรู้ข่าวสาร ติดตามกระแส หรือจะแชร์ประสบการณ์ชีวิตอะไรก็ตาม พูดง่าย ๆ คือทุกอย่างหาได้ในโลกออนไลน์ แค่พิมพ์ กดค้นหา เว็บไซต์ให้ความรู้ หรือแพลตฟอร์มยอดฮิดต่าง ๆ ก็พร้อมให้คุณได้ใช้เวลาอย่างเพลิดเพลินกันแล้ว และด้วยความที่ผู้คนต่างมีความสนอกสนใจ และใช้เวลาส่วนใหญ่กับเว็บไซต์นี่แหละ จึงทำให้การออกแบบเว็บไซต์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามเลยนั่นก็คือ Responsive Web Design”


Responsive Web Design คืออะไร

Responsive Web Design คือ การออกแบบเว็บไซต์ โดยการทำให้หน้าเว็บไซต์ปรับไปตามขนาดของหน้าจออุปกรณ์ที่คุณเปิดใช้งาน เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ทั้งนี้ก็เพื่อความสวยงาม และยังช่วยให้เนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ อ่านง่ายยิ่งขึ้น

เข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ การสร้างหน้าต่างให้เหมาะสมกับหน้าจอ ด้วยความที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แล็ปท็อป แท็บเล็ต อุปกรณ์แต่ละอย่างเหล่านี้มีขนาดจอต่างกัน ทำให้หน้าเว็บไซต์แสดงผลออกมาไม่เหมือนกัน 

ยกตัวอย่างเช่น : คุณเปิดเว็บไซต์ A บนคอมพิวเตอร์ อ่านง่าย สบายตา รูปภาพครบถ้วน แต่พอไปเปิดผ่านทางโทรศัพท์มือถือกลับกลายเป็นว่าตัวบทความขาดหาย รูปภาพมาไม่ครบเผลอ ๆ รูปภาพอาจจะไม่ขึ้นเลยด้วยซ้ำ


Responsive Web Design คืออะไร

Responsive Web Design มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำเว็บ

ในช่วงสมาร์ทโฟนโด่งดัง และเป็นที่นิยมขึ้นมา โลกของเว็บไซต์ก็ต้องพัฒนาตามไปด้วย โดยช่วงแรก ๆ เว็บไซต์ต่าง ๆ จะแก้ปัญหาความต่างกันของขนาดหน้าจอโดยการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา 2 ชุดสำหรับจอคอมปกติหนึ่งชุด และอีกชุดหนึ่งสำหรับจอมือถือหรือสมาร์ทโฟน ลองนึกภาพตามก็รู้สึกเหนื่อยไม่น้อย แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์โฟนนั้นใช้งานง่ายกว่า พกพาสะดวกกว่า นั่นทำให้แต่ละเว็บไซต์ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

แต่ภายหลังที่ Responsive Web Design ถูกนำมาใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ ถือเป็นตัวช่วยที่ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้สร้างโปรแกรมเป็นอย่างมาก ซึ่งประโยชน์ที่สำคัญที่สุดเลยคือ 

1. ผู้สร้างไม่ต้องเหนื่อยสร้างเว็บไซต์ถึง 2 ครั้ง 

ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจจะต้องสร้างมากกว่า 2 ครั้งด้วยซ้ำ เพราะเครื่องมือในการใช้งานมีจำนวนมากขึ้น ขนาดหน้าจอก็ไม่เท่ากันเลยสักนิด แถมเครื่องมือต่าง ๆ ที่นิยมใช้งานยังมีระบบปฏิบัติเกิดขึ้นหลายระบบอีกด้วย ที่พบเจอกันบ่อยๆ ก็อย่างเช่น Android, iOS, Microsoft เป็นต้น

2. ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน

จากเดิมต้องออกแบบหน้าเว็บไซต์สวย ๆ ถึง 2 หรือ 3 ครั้ง แน่นอนว่าพอลดขั้นตอนการทำงานจากเดิมต้องออกแบบเว็บไซต์ถึง 2 หรือ 3 ครั้ง มาเหลือเพียงครั้งเดียว ประโยชน์อีกข้อที่จะตามมาคือ ลดค่าใช้จ่าย ลดจำนวนคนทำงาน ลดขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์ รวมถึงลดเวลาในการทำงานลงด้วย นับเป็นการลดต้นทุนของบริษัทได้อีกวิธีหนึ่งเลย

3. ช่วยให้ User หรือผู้ใช้งานเว็บสะดวกขึ้น 

User หรือผู้ใช้งานเว็บสะดวกขึ้นท่องเว็บไซต์ได้ลื่นไหลสบายตามากขึ้น ลองคิดดูว่าถ้าเว็บไซต์ขายเสื้อผ้าแฟชั่นนามสมมติว่า Fashion ไม่มีการ Responsive Web เลย ซึ่งแน่นอนว่าเพื่อความสะดวกสบายของ User ที่เขาของ User ที่จะเข้าไปชม และสั่งซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่ผู้ใช้งานกลับเข้าไปซื้อเสื้อผ้าในจากเว็บ Fashion ไม่ได้เพราะ รูปเสื้อไม่ขึ้น ข้อมูลทั่วไปของกางเกงแสดงผลแค่ครึ่งเดียว หาเมนูชำระเงินไม่เจอ แบบนี้ผู้ใช้จะอยากใช้งานเว็บ Fashion อยู่อีกหรอ และคำตอบก็อาจจะมาในรูปแบบ ถ้าซื้อเว็บนี้ไม่สะดวก ก็เปลี่ยนไปซื้อเว็บอื่นล่ะกัน

4. ช่วยให้เว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกบน Google

อีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการ Responsive Web คือ SEO หรือ Search Engine Optimization พวกเขาจะมีหน้าที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับในหน้าค้นหา Google ยิ่งติดอันดับต้น ๆ ได้ยิ่งดี ทีนี้เว็บไซต์จะติดอับดับต้น ๆ ได้มีทั้งปัจจัยเรื่องของ Content และ โครงสร้างเว็บไซต์ ถ้าเว็บไซต์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ Friendly ใช้งานง่ายเท่าที่ควร เว็บไซต์คุณก็จะโดน Google ปัดออกจากหน้าแรกของการค้นหา


หลักการทำงานของ Responsive Web Design

หลักการทำงานหลัก ๆ เลยคือ อย่ากำหนดค่าทุกอย่างตายตัว ด้วยความที่หน้าจออุปกรณ์ที่ใช้ อย่าง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และอื่น ๆ อีกมากมายมีขนาดไม่เท่ากันเลย ถ้าคุณกำหนดค่าทุกอย่างตายตัวอาจจะทำให้ความสุนทรีที่ผู้ใช้งานตายตามไปด้วย เพราะฉะนั้นทุกอย่างจะต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะได้รองรับทุกอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่ผู้สร้างจะกำหนดให้มีความยืดหยุ่นก็จะมีดังนี้เลย 

1. Fluid Grid 

Fluid Grid คือ การออกแบบ Grid ให้ยืดหยุ่นเข้าไว้ ถ้าให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นก็คือ การออกแบบบล็อค เช่น ตาราง หรือ กล่องข้อความ ที่สามารถยืดหยุ่นได้ สามารถยืดและหดไปตามขนาดหน้าจอของเครื่องมือที่คุณกำลังใช้งานอยู่ โดยที่การยืดและหดนั้นจะยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตารางเอาไว้

2. Flexible Images 

Flexible Images ก็คือการกำหนดรูปภาพให้สัมพันธ์กับหน้าจอเครื่องมือที่คุณใช้งาน โดยปกติแล้วถ้าคุณเปิดเว็บไซต์ผ่านจอคอมพิวเตอร์ คุณก็จะเห็นรูปนั้นแบบใหญ่โตและสวยงาม แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเปิดดูรูปจากเว็บไซต์เดียวกันผ่านมือถือ โดยไม่ได้มีการกำหนดขนาดของรูปให้ยืดหยุ่นไปตามหน้าจอรูปก็จะไม่เหมือนเดิม จากรูปเครื่องบินเต็มลำก็อาจจะเหลือแค่ห้องกัปตัน วิวท้องฟ้าที่สดใสหายไปก็ได้

3. Style Sheets 

ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของความสวยงาม ความเป็นระเบียบ รายละเอียดเล็กน้อย เช่น การเว้นบรรทัด ระยะห่างระหว่างตัวอักษร หรือการย่อเมนูเมื่อใช้จอขนาดเล็ก เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะใช้ CSS เป็นตัวช่วย 

* CSS ( Cascading style sheet ) คือภาษาที่ใช้โค้ดดิ้งพวกความสวยของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งก็จะประกอบด้วยตัวอักษร สีพื้นหลัง การจัดเลย์เอาท์เป็นต้น ถ้าเรื่องตัวอักษรก็จะมีแยกย่อยไปอีกเป็นแยกย่อยไปอีกก็อย่างเช่นสี และขนาดตัวอักษร


บทสรุป

จากข้อมูลข้างต้นเราจะเห็นถึงประโยชน์ที่มากล้นของการ Responsive Web Design ถือเป็นเครื่องตอกย้ำว่าคุณไม่ควรมองข้ามเรื่องนี้ ซึ่งผู้ที่ได้รับประโยชน์นั้นก็มีทั้งผู้สร้างเว็บไซต์ ผู้ใช้ เจ้าขององค์กร รวมไปถึงผู้ที่ทำธุรกิจบนหน้าเว็บไซต์ด้วย ในปัจจุบันนี้คุณจะเห็นว่า เกือบทุกอย่างที่ต้องเปิดผ่านเบราว์เซอร์อย่าง Google, Safari หรือ Microsoft Edge นั้น ล้วนถูก Responsive มาหมดแล้วแทบจะทั้งสิ้น

เชื่อว่าตอนนี้หลายคนน่าจะเข้าใจความสำคัญของการทำ Responsive Web Design กันแล้ว ก็อย่าลืมนำไปปรับใช้เพื่อให้เว็บไซต์ของเรามีความ Friendly กับทุกอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มความสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น แต่ถ้าใครมีอยากปรึกษาเกี่ยวกับการ Responsive Web Design รวมถึงการทำเว็บแบบครบวงจร ที่นี่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการรับทำเว็บไซต์ ที่มากด้วยประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา



ขอบคุณข้อมูลจาก : Primal  Makewebeasy  Mindphp

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

เผยสถิติเวลาโพสต์คลิปวิดีโอบน YouTube ที่ดีที่สุด

อัพโหลดวีดีโอลงยูทูปต้องลงตอนเวลาอะไร โพสต์ตอนไหนคนเห็นเยอะ ใครที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราหาวิธีลงคลิปในยูทูปแบบคุ้มค่าทุกการอัพโหลดในปี 2024 มาให้แล้ว

Story Telling คืออะไร ถอดรหัสการเล่าเรื่องให้โดนใจลูกค้าแบบมืออาชีพ

ทำความรู้จัก Story Telling คืออะไร ก่อนเริ่มทำ Story Telling Script พร้อมองค์ประกอบการเล่าเรื่อง Story Telling และ Story Telling ตัวอย่าง เพื่อให้โดนใจลูกค้าแบบมืออาชีพ

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.